April 27, 2024

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

ปัญหาที่คนเราพบกันมากมายในปัจจุบันนั้น… มักจะพบกับปัญหา “สุขภาพจิตใจไม่ดี” ซึ่งก็มีอาการมาจากหลายสาเหตุ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปค้นหาความรู้เกี่ยวกับ “5 หลักการดูแลสุขภาพจิต” ที่น่าสนใจและคิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่คิดว่านอนดึกไม่เป็นไรนั้นเองครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปลุยกันเลยครับ!!

ปัญหาสุขภาพจิต คืออะไร?

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นภาวะจิตใจที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนผสมผสานกัน ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าปัญหาสุขภาพจิตจะส่งผลต่อการตัดสินใจ ความนึกคิดและการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปตามอารมณ์และความรู้สึก ณ ขณะนั้นของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่ในช่วงเบื้องต้นจะอยู่ในรูปแบบคล้ายๆ กับความเครียดแต่พอนานไปจะเกิดการสะสมทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ไม่เป็นตัวของตัวเองและสุดท้ายจะแสดงออกในด้านที่ก้าวร้าวหรือทำอะไรไม่มีการยั้งคิดจนเกิดเหตุการณ์อันตรายทั้งต่อผู้ป่วยและคนรอบข้าง

2 สาเหตุของสุขภาพจิตเสีย

ความเครียดสะสม การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสม หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว เรียกได้ว่ารู้ตัวอีกทีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างไปแล้ว สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้

สิ่งแวดล้อมภายนอก สิ่งแวดล้อมภายนอก ที่มีผลต่อสุขภาพจิต ได้แก่ครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ที่อยู่อาศัย ที่ทำงานชุมชน และประเทศชาติ เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้จิตใจมีความเครียด วิตกกังวลแตกต่างกัน การทำงานที่มีอันตราย ความเสี่ยงสูง ไม่แน่นอน งานที่ต้องอดนอน เวลานอนไม่แน่นอน เกิดอุบัติเหตุสูง การทำงานน่าเบื่อ ขาดการพักผ่อนหรือผ่อนคลาย งานที่มีความคาดหวังสูง ต้องใช้พลังกาย พลังใจ สายตาหรือสมาธิสูงๆ อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงดัง สีที่ทำงานที่คนใกล้ชิดที่เครียดสุขภาพจิตไม่ดี ได้ทั้งสิ้น

3 ปัญหาสุขภาพจิตที่ วัยทำงานมักจะพบเจอ

●ภาวะหมดไฟในการทำงาน อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังมาแรงในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันมีที่มาจากความเครียดสะสม ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลรุนแรงและคุกคามการดำเนินชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหว บั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุด ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้    

●โรคซึมเศร้า เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับโรคทางกายชนิดอื่นๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้มีความหมายว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีผลกระทบโดยรวมต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงสุขภาพกาย ซึ่งจากสถิติพบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี มีปัญหาสุขภาพจิต ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากเลยหล่ะครับ

●วิตกกังวลและแพนิค เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงมีความเครียดและความกดดันเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น มักแสดงอาการได้หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อออกมาก หายใจหอบ อาเจียน วิงเวียนแบบฉับพลัน ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงการหวาดกลัวสิ่งรอบตัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่คุกคามชีวิตของคนวัยทำงานหลายๆ ท่านเลยหล่ะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ สุขภาพจิต” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น หวังว่าจะชอบและเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ